เปิดทำการ จันทร์-เสาร์ เวลา 07.30 - 17.00 น.
สามารถสอบถามได้ทาง Line : @kpphm 

ห้างหุ้นส่วนจำกัด กิจเพิ่มพูลค้าวัสดุก่อสร้าง    

 
TH EN

ตะปูเกลียวปลายแหลม ซี-โค่ 23 มม. (1")

หมวดหมู่สินค้า: ซีเมนต์บอร์ด
รหัส : 8852404049299
ราคา 215บาท

10 กุมภาพันธ์ 2565

ผู้ชม 491 ผู้ชม

ดาวน์โหลด โปรชัวร์

“คม ยิงง่าย เข้าไว” ช่วยให้ทำงานได้รวดเร็ว งานเรียบร้อย เสร็จไว
การใช้งาน : ใช้ติดตั้งร่วมกับแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์บอร์ดที่มีความหนา 4-6 มม.
บรรจุ : 500 ตัว/กล่อง

 

ประเภทของสารเคลือบ : ชุบสีรุ้ง
วิธีการติดตั้งและใช้งาน :
ขนาดความยาวของสินค้ามีหลายขนาด วิธีการเลือกขึ้นอยู่กับกระเบื้องที่ใช้ในการติดตั้งว่าเลือกขนาด และประเภทอย่างไร โดยเลือกความยาวให้เหมาะสมตามความยาวที่ใช้จริง

  • แปไม้ >ใช้สินค้าที่เป็นปลายแหลม
  • แปเหล็ก >ใช้สินค้าที่เป็นปลายสว่าน โดยไม่ต้องเจาะนำ

ควรใช้ควบคู่กับ ลูกบล็อก ขนาด 5/16×42ที่เป็นแม่เหล็ก และสว่านที่มีกำลังวัตต์ไม่ตํ่ากว่า 570 วัตต์ หรือมีรอบตั้งแต่ 0-2500 /นาที ที่สามารถตั้งระดับหรือมีระบบหยุดการกระแทกได้ จะช่วยให้ง่ายต่อการติดตั้ง และลดการสูญเสียของสินค้าในระหว่างติดตั้งได้

ข้อควรระวัง :
1. ควรเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ให้ห่างจากมือเด็ก
2. ไม่ควรเก็บผลิตภัณฑ์ในที่ที่มีความชื้น
3. ควรใช้เครื่องมือในการติดตั้งที่ได้มาตรฐาน
4. ไม่ควรวางผลิตภัณฑ์ซ้อนกันเกิน 6 ชั้น

ข้อปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน

ขณะติดตั้งชุดอุปกรณ์ยึดครอบแห้ง ซี-โค่ ต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลทุกครั้ง เช่นเข็มขัดนิรภัย (Safety Belt) และสายโยง (Life line) เป็นต้น เพื่อป้องกันการตกจากหลังคา ห้ามติดตั้งชุดอุปกรณ์ยึดครอบระบบแห้ง ซี-โค่  ในขณะที่ฝนตก หรือมีลมแรง หรือฝนฟ้าคะนอง เพราะอาจเป็นอันตรายต่อผู้ติดตั้ง

แผ่นรองใต้ครอบ ใช้สำหรับติดตั้งครอบหลังคาระบบแห้งเท่านั้น ห้ามนำเข้าปาก กลืนกิน ระวังกาวติดเสื้อผ้า

ตะปูเกลียว จัดเก็บให้ห่างจากความเปียกชื้น ห้ามนำเข้าปาก เก็บให้พ้นมือเด็ก สวมถุงมือทุกครั้ง ขณะใช้งานและติดตั้งเนื่องจากตะปูมีความแหลมคม ใช้ติดตั้งร่วมกับสว่านที่ปรับระดับความเร็วได้ ความเร็วสูงสุดไม่เกิน 2500 รอบต่อนาที ในระหว่างติดตั้ง ระวังเศษตะปู เศษกระเบื้อง ฝุ่น และขี้เหล็กกระเด็นเข้าตา ระวังอย่าให้ตะปูร่วงหล่น ระวังเศษตะปูที่ตกอยู่บนพื้น ใช้สำหรับการยึดครอบและอุปกรณ์ประกอบเท่านั้น

ขายึดเหล็กใต้ครอบ ขณะเคลื่อนย้าย ระวังความแหลมคมของขายึดเหล็กใต้ครอบ และสวมถุงมือทุกครั้ง ใช้สำหรับการยึดครอบและอุปกรณ์ประกอบเท่านั้น

เหล็กรับครอบ การเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บ ต้องทำด้วยความระมัดระวังเพื่อป้องกันอันตรายจากการหล่นทับ สถานที่จัดเก็บต้องแห้ง และสามารถรับน้ำหนักของสินค้าได้อย่างปลอดภัย เหล็กรับครอบเป็นโลหะ สามารถนำไฟฟ้าได้ ต้องระมัดระวังในกรณีที่มีการพาดสายไฟผ่านเหล็กรับครอบ

ประเภทของตะปู

ตะปู เป็นอุปกรณ์ที่ทำมาจากโลหะ มีลักษณะแข็ง ปลายแหลม รูปร่างคล้ายเข็ม ตะปูส่วนมากทำมาจากเหล็ก มักใช้สำหรับการยึด ตรึง หรือเพื่อติดวัตถุชนิดต่าง ๆ ในงานไม้ งานก่อสร้าง และงานวิศวกรรม ตะปูมักถูกใช้งานร่วมกับค้อน โดยใช้ค้อนในการตีหรือตอกเพื่อดันตะปูให้ผ่านเข้าไปในวัตถุที่ต้องการ จะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ เราสามารถแบ่งประเภทของตะปูตามวัสดุที่นำไปตอกได้ 3 ประเภท นั่นคือ

  1. ตะปูตอกคอนกรีต จะทำจากเหล็กพิเศษ ตะปูประเภทนี้จะมีความแข็ง ไม่งอง่าย ช่วงลำตัวของตะปูคอนกรีตจะเป็นร่องเล็กๆ ซึ่งมีส่วนปลายของตะปูที่ออกแบบมาในลักษณะที่ต่างกันออกไป
  2. ตะปูตอกไม้ จะทำด้วยลวดเหล็กชุบสังกะสีกันสนิม จะสามารถแบ่งได้อีกหลายชนิดขึ้นกับการใช้งานค่ะ
  3. ตะปูตอกสังกะสี จะทำด้วยเหล็กชุบสังกะสีกันสนิม หัวตะปูจะใหญ่ มีลักษณะกลมมีความโค้งเล็กน้อยเพื่อช่วยในการยึดสังกะสีให้ติดกับโครง ไม่ให้สังกะสีหลุดง่ายเมื่อเจอแรงลม

ตะปูมีหลายชนิด หลายขนาด มีทั้งชนิดหัวแบนราบ หัวนูน ตัวอ้วน ผอม ยาว สั้น แล้วแต่ความหนาของไม้และความต้องการที่จะใช้

ส่วนประกอบของตะปู

ตะปูมีส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ ส่วนหัวตะปู ส่วนลำตัวและส่วนปลาย

  1. ส่วนหัว หัวตะปูจะมีลักษณะต่างกัน มีทั้งหัวราบ แบน และหัวมน ตะปูหัวราบใช้กันมากในการทำงนทั่วๆไป ช่างเฟอร์นิเจอร์ทั่วไปใช้ตะปูหัวแบนมาทุบให้หัวเล็กๆเพราะจะทำให้ไม้มีตำหนิน้อยมาก
  2. ส่วนลำตัว ตะปูที่ใช้กับงานไม้มีทั้งส่วนลำตัวอ้วนและส่วนลำตัวผอม ซึ่งสามารถเลือกใช้ได้เหมาะสมกับความหนาของไม้ ลำตัวของตะปูนั้นผอมยาวเรียกเป็นนิ้ว ซึ่งเป็นชื่อเรียกขนาดของตะปู เช่น ตะปูขนาด 3 นิ้ว หมายถึง ขนาดของลำตัวตะปูยาว 3 นิ้ว
  3. ส่วนปลาย จะเป็นส่วนที่แหลมคมที่ช่วยทำให้ตะปูเข้าไปยึดฝังอยู่ในเนื้อไม้ ตะปูตอกไม้ที่ผลิตออกจำหน่ายมีตั้งแต่ขนาดความยาว ½ นิ้ว ถึง 4 นิ้ว ยกเว้นตะปูเข็มซึ่งใช้กับงานเฟอร์นิเจอร์

ชนิดของตะปู

ตะปูที่ใช้ในงานไม้ที่นิยมใช้กันในปัจจุบันมีหลายชนิดหลายขนาด ได้แก่

  1. ตะปูธรรมดา จะมีขนาดความโตของหัวตะปูเป็นสองเท่าของความโตที่ตัวตะปู หัวตะปูจะมีลักษณะแบนเรียบมีขนาดตั้งแต่ 2d ไปจนถึง 60d เป็นตะปูที่ใช้กับงานทั่วๆไป
  2. ตะปูแบนหรือตะปูตอกกล่อง มีลักษณะหัวกลมแต่แบน หัวตะปูจะมีลักษณะเช่นเดียวกับหัวตะปูธรรมดา แต่ตัวตะปูจะมีขนาดเล็กกว่าเล็กน้อย มีขนาดตั้งแต่ 2d ไปจนถึง 20d ใช้สำหรับตอกกล่องหรือลังไม้ หรือใช้ในงานเครื่องเรือนทั่วๆไป
  3. ตะปูหัวกลม จะมีขนาดเล็กกว่าตะปูแบนมาก หัวตะปูจะกลม มีขนาดตั้งแต่ 2d ไปจนถึง 20d ใช้ในงานที่ต้องการส่งหัวตะปูไม่ให้เห็นหลังจากตอกแล้ว หรืใช้ในงานภายในที่ต้องการความละเอียดและประณีต เนื่องจากฝังหัวตะปูได้ งานที่ใช้ตอกยึดเครื่องเรือนต่างๆเป็นต้น
  4. ตะปูตอกพื้น ตะปูชนิดนี้ทั้งหัวและตัวตะปูจะมีขนาดเท่ากับตะปูชนิดธรรมดา แต่หัวตะปูจะเป็นรูปทรงกรวย มีขนาดตั้งแต่ 7d ไปจนถึง 10d ใช้สำหรับตอกพื้นอาคารบ้านเรือนและอื่นๆตะปูเมื่อตอกเข้าไปในพื้นเรียบร้อยแล้ว หัวตะปูจะเสมอเรียบกับพื้นพอดี

การนำตะปูไปใช้งานและการบำรุงรักษา

  1. เลือกตะปูให้เหมาะสมกับความหนาองไม้
  2. การตอกควรใช้จังหวะในการตอกอย่างสม่ำเสมออย่าโหมแรงจนเกินไปตะปูจะหดได้ หรือถ้าตอกให้หนักจนเกินไปจะทำให้ตะปูร้อนและเกิดการบิดงอได้
  3. เวลาตอกไม้ให้ตะปูยึดกันให้ได้ โดยตอกให้เอียงตามรูปที่ 3.8
  4. อย่าเก็บตะปูไว้ในที่ชื้น

คลิกที่นี่เพื่อดูแคตตาล๊อก

Engine by shopup.com