05 มกราคม 2565
ผู้ชม 4232 ผู้ชม
ลดความร้อน 3-4 องศาเซลเซียส |
ป้องกันความร้อนได้ถึง 6 เท่า สะท้อนความร้อน 95% |
ลดการทำงานของ เครื่องปรับอากาศ |
บนฝ้าทีบาร์และฉาบเรียบ สำหรับบ้านเก่าและสร้างใหม่ |
ได้รับฉลากเขียวและ SCG GREEN CHOICE |
เนื้อฉนวนหนาพิเศษ กันความร้อนได้ดีกว่าฉนวนทั่วไป |
หุ้มรอบด้านด้วยอะลูมิเนียม ฟอล์ยเสริมแรงจึงทนทาน |
ทดสอบตามมาตรฐาน ASTM E84และBS476 |
ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี มีหลายประเภท ซึ่งควรพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ เพื่อเลือกให้เหมาะสมกับบ้านของเราที่กำลังจะสร้างใหม่ให้มากที่สุด
เพราะบ้านเราขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองร้อน เมื่อคิดจะสร้างบ้านสักหลัง เจ้าของบ้านหลายคนจึงคำนึงถึงเรื่องความร้อนที่จะผ่านเข้าสู่ตัวบ้านเป็นอันดับต้นๆ หนึ่งในตัวเลือกคือการปูฉนวนกันความร้อนแบบแผ่น สำหรับใครที่กำลังสนใจหรือพิจารณาจะใช้ฉนวนกันความร้อนของเอสซีจี แนะนำให้ทำความรู้จักกับฉนวนแต่ละประเภท เลือกให้เหมาะสมกับรูปแบบหลังคา และดูความเหมาะสมและคุ้มค่าก่อนการตัดสินใจ
ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี มีประเภทไหนบ้าง
ฉนวนกันความร้อนเอสซีจี มีหลากหลายรุ่นให้เลือก หากไม่รู้ว่าจะเลือกรุ่นไหนดี เรามาทำความรู้จักกับฉนวนกันความร้อนของเอสซีจีแต่ละรุ่นกันก่อนดีกว่า ฉนวนกันความร้อนเอสซีจีมี 3 ประเภท คือ แผ่นสะท้อนความร้อน เอสซีจี, แผ่นสะท้อนความร้อน เอสซีจี รุ่นอัลตราคูล และ ฉนวนกันความร้อนเอสซีจี รุ่น STAY COOL
1. แผ่นสะท้อนความร้อน เอสซีจี เป็นแผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์บางๆ 2 ชั้นมาประกบกัน ตรงกลางจะมีชั้นของโพลีเอทธีลีนฟิล์ม กระดาษคราฟท์ เส้นใยแก้วสามทาง รวมถึงสารเคมีช่วยป้องกันการลามไฟ ฉนวนประเภทนี้จะสะท้อนรังสีความร้อนได้สูงถึง 95% สามารถติดตั้งได้กับหลังคามุงทุกประเภท ทั้งบนแปและใต้แป
ภาพ: แผ่นสะท้อนความร้อน SCG
2. แผ่นสะท้อนความร้อน เอสซีจี รุ่นอัลตราคูล ประกอบด้วยแผ่นสะท้อนความร้อนและฉนวนใยแก้ว ซึ่งมีร่องพอดีกับระยะแป จึงเหมาะกับการติดตั้งบนแปตามความลาดเอียงหลังคา และด้วยความที่มีทั้งแผ่นสะท้อนความร้อนที่ช่วยสะท้อนรังสีความร้อนได้ถึง 95% กับฉนวนใยแก้วที่ช่วยหน่วงความร้อนก่อนเข้าสู่ตัวบ้าน ทำให้มีประสิทธิภาพในการป้องกันความร้อนดีกว่าการติดตั้งแผ่นสะท้อนความร้อนเพียงอย่างเดียวถึง 30% *แผ่นสะท้อนความร้อน เอสซีจี รุ่นอัลตราคูล สามารถใช้กับกระเบื้องหลังคาของเอสซีจีบางรุ่นเท่านั้น
ภาพ: แผ่นสะท้อนความร้อน เอสซีจี รุ่นอัลตราคูล
3. ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น STAY COOL (ฉนวนกันความร้อนใยแก้ว) เป็นฉนวนที่ผลิตจากใยแก้ว หุ้มด้วยอะลูมิเนียมฟอยล์เสริมแรง จึงช่วยทั้งสะท้อนความร้อนและหน่วงความร้อนก่อนเข้าสู่ตัวบ้าน โดยถูกออกแบบมาให้เหมาะสำหรับการติดตั้งเหนือฝ้าเพดาน (ทั้งฝ้าแบบฉาบเรียบและแบบที-บาร์) มีให้เลือก 2 ความหนาคือ 75 มิลลิเมตร (3นิ้ว) และ 150 มิลลิเมตร (6นิ้ว) *ฉนวนใยแก้ว ยิ่งมีความหนามาก ก็ยิ่งสามารถป้องกันความร้อนได้ดี ทั้งนี้ควรพิจารณาการรับน้ำหนักของโครงคร่าวฝ้าเพดานประกอบการตัดสินใจด้วย
ภาพ: ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น STAY COOL ความหนา 75 มม. และ 150 มม.
ภาพ: ตำแหน่งการติดตั้งฉนวนกันความร้อน เอสซีจี แต่ละประเภท
เลือกฉนวนกันร้อน เอสซีจี ให้เหมาะสมกับรูปแบบหลังคา
เราขอแบ่งหลังคาบ้านเป็น 2 รูปแบบใหญ่ๆ คือ หลังคาแบบมีวัสดุมุง (มีหลายรูปทรง เช่น ทรงจั่ว ทรงปั้นหยา ทรงเพิงหมาแหงน เป็นต้น) กับหลังคาคอนกรีตเสริมเหล็ก สำหรับหลังคาแบบมีวัสดุมุง จะเลือกใช้ฉนวนกันความร้อนได้ทุกประเภทข้างต้น ซึ่งอาจจะเลือกประเภทใดประเภทหนึ่ง หรือติดตั้ง 2 ประเภทควบคู่กันก็ได้ เช่น ติดตั้งแผ่นสะท้อนความร้อน เอสซีจี หรือ รุ่นอังตราคูล ควบคู่กับการปูฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น STAY COOL (ขึ้นอยู่กับงบประมาณ ความคุ้มค่า และรุ่นกระเบื้องหลังคาที่มุงในกรณีที่เลือกใช้แผ่นสะท้อนความร้อน เอสซีจี รุ่นอัลตราคูล) ส่วนหลังคาคอนกรีตเสริมเหล็ก สามารถเลือกใช้ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น Stay Cool ซึ่งเป็นแบบปูบนฝ้าเพดานเท่านั้น โดยสามารถเลือกความหนาแบบ 75 มิลลิเมตร (3 นิ้ว) หรือ 150 มิลลิเมตร (6 นิ้ว) ตามความเหมาะสมของโครงคร่าวและงบประมาณ
ภาพ: หลังคาแบบมีวัสดุมุง จะเลือกใช้ฉนวนกันความร้อนได้ทุกประเภท ส่วนหลังคาคอนกรีตเสริมเหล็ก สามารถเลือกใช้ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น Stay Cool ซึ่งเป็นแบบปูบนฝ้าเพดานเท่านั้น
ดูความเหมาะสมและคุ้มค่าก่อนตัดสินใจ
ประสิทธิภาพในการป้องกันความร้อนของฉนวนกันความร้อนแต่ละประเภท เราดูที่ “ค่าความสามารถในการต้านทานความร้อน” หรือ ค่า R (Resistivity) เป็นหลัก ฉนวนที่มีค่า R ยิ่งสูง ประสิทธิภาพในการป้องกันความร้อนจะยิ่งมาก ซึ่งค่า R หาได้จาก “ความหนาฉนวนหารด้วย ค่า K (Conductivity)” หากดูจากตารางด้านล่าง ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น STAY COOL ความหนา 6 นิ้ว จะมีค่า R มากสุด และเมื่อเปรียบเทียบราคาต่อตารางเมตรหารด้วยค่า R ยังถือว่าคุ้มค่ามากสุดด้วย
ภาพ: ตารางเปรียบเทียบค่า R และ ราคาต่อตารางเมตร (โดยประมาณ) ของฉนวนกันความร้อน เอสซีจี แต่ละประเภท
นอกจากการติดตั้งฉนวนแต่ละประเภทแบบเดี่ยวๆ แล้ว เรายังสามารถเลือกติดตั้งควบคู่กันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความร้อนให้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย จากผลทดสอบตามตารางด้านล่าง หากดูค่า R เป็นหลัก การเลือกใช้แผ่นสะท้อนความร้อน เอสซีจี รุ่นอัลตราคูล ควบคู่กับฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น STAY COOL ความหนา 150 มม. จะป้องกันความร้อนได้ดีสุด (เหมาะกับบ้านที่ใช้หลังคารุ่นที่สามารถติดตั้งแผ่นสะท้อนความร้อน เอสซีจี รุ่นอัลตราคูลได้เท่านั้น) ทั้งนี้ ควรเลือกใช้ฉนวนที่สอดคล้องกับงบประมาณที่เราตั้งไว้ให้สอดคล้องและคุ้มค่ากับประสิทธิภาพการกันความร้อนที่ได้
ภาพ: ตารางเปรียบเทียบผลการทดสอบการกันความร้อนของฉนวนกันความร้อน เอสซีจี แต่ละประเภทที่ติดตั้งร่วมกัน
เมื่อตัดสินใจได้แล้ว ว่าจะเลือกติดตั้งฉนวนประเภทไหน จะติดตั้งแบบเดี่ยวหรือแบบควบคู่กัน อย่าลืมเลือกให้สอดคล้องกับหลังคาและรูปแบบบ้านแต่ละหลัง เพื่อความคุ้มค่าและประสิทธิภาพในการกันร้อนที่สูงสุดด้วย
ข้อแตกต่างและข้อคำนึงในการเลือกฉนวนกันความร้อนเพื่อบ้านเย็น ว่าจะใช้ฉนวนแบบปูใต้หลังคาหรือปูบนฝ้าเพดาน เพื่อการแก้ปัญหาบ้านร้อนที่ได้ประสิทธิภาพ
ตัวช่วยแก้ปัญหาบ้านร้อน อย่างฉนวนกันความร้อนทั้งแบบปูบนฝ้าเพดานและแบบปูใต้หลังคา ต่างก็มีคุณสมบัติป้องกันความร้อน ช่วยลดความร้อนจากโถงหลังคาที่จะเข้าสู่ตัวบ้าน ทำบ้านเย็นขึ้นได้ทั้งคู่ โดยข้อคำนึงหลักๆ ที่เจ้าของบ้านควรพิจารณาในการเลือกใช้งานก็คือ ค่าการกันความร้อน (ค่า R) ตำแหน่งการติดตั้ง รูปแบบของฉนวน และการดูแลรักษา
ค่าการกันความร้อน หรือ ค่า R ของฉนวนกันความร้อน
การจะปูฉนวนกันความร้อนเหนือฝ้าเพดาน หรือปูใต้หลังคานั้น ประสิทธิภาพการกันความร้อนอาจให้ผลไม่ต่างกันมากนัก เพราะปัจจัยที่สำคัญกว่าคือ “ค่าการกันความร้อน” เป็นความสามารถในการต้านทานความร้อน หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า “ค่า R” ในการเลือกซื้อฉนวนกันความร้อน จึงควรดูค่า R เป็นหลัก โดยวัสดุแต่ละชนิดจะมีค่า R แตกต่างกัน ทั้งนี้ ค่า R จะสัมพันธ์กับความหนาของฉนวน โดยฉนวนยิ่งหนา ค่า R จะยิ่งสูง
ตำแหน่งการติดตั้งฉนวนกันความร้อน
ฉนวนกันความร้อนแบบปูใต้หลังคาจะติดตั้งไปตามความลาดเอียงของหลังคา ซึ่งต้องมีวิธียึดติดตั้งฉนวนให้แนบไปกับหลังคาตามที่ผู้ผลิตกำหนด ส่วนการติดตั้งฉนวนแบบปูบนฝ้าเพดาน จะเป็นวางหรือปูฉนวนเรียงไปบนฝ้าเพดานเท่านั้น ซึ่งโดยทั่วไปมักไม่มีการยึดฉนวนเข้ากับโครงคร่าวฝ้า
ภาพ: การติดตั้งฉนวนกันความร้อนแบบปูใต้หลังคา
ภาพ: การติดตั้งฉนวนกันความร้อนแบบปูบนฝ้าเพดาน
รูปแบบของฉนวนกันความร้อน
- ฉนวนกันความร้อนแบบปูใต้หลังคา จะมีทั้ง วัสดุโฟม PU สำหรับพ่นใต้กระเบื้องหลังคาตามความหนาที่ต้องการ (2-3 นิ้ว โดยทั่วไป) หรือจะเป็นวัสดุแบบแผ่นหุ้มอะลูมิเนียมฟอยล์ อย่างโพลีเอธิลีนโฟม (PE หรือ โฟมพีอี) Air Bubble รวมถึงแผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์สะท้อนรังสีความร้อนที่มีให้เลือกทั้งแบบธรรมดา และแบบมีฉนวนใยแก้วซ่อนด้านในช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการกันความร้อนภาพ: ฉนวนกันความร้อนแบบแผ่น Air Bubble (บนซ้าย) โพลีเอธิลีนโฟม (ล่างซ้าย) และ แบบโฟม PU สำหรับพ่นใต้วัสดุมุงหลังคา (ขวา)
ภาพ: แผ่นสะท้อนความร้อนอะลูมิเนียมฟอยล์ มีคุณสมบัติช่วยสะท้อนรังสีความร้อนจากหลังคา
ภาพ: แผ่นสะท้อนความร้อนอะลูมิเนียมฟอยล์แบบมีฉนวนใยแก้วกันความร้อนซ่อนด้านใน ใช้สำหรับติดตั้งบนแปหลังคา
- ฉนวนกันความร้อนแบบปูบนฝ้าเพดาน อาจเลือกใช้ฉนวนกันความร้อนแบบแผ่นที่ปูใต้หลังคาได้อย่าง โพลีเอธิลีนโฟม Air Bubble หรือจะเลือกใช้ฉนวนใยแก้วแบบม้วนก็ได้ภาพ: ฉนวนกันความร้อน SCG รุ่น STAY COOL เป็นฉนวนใยแก้วหุ้มอะลูมิเนียมฟอยล์ สำหรับวางบนฝ้าเพดาน
การดูแลรักษาฉนวนกันความร้อน
หากเทียบกันแล้ว ฉนวนที่ปูบนฝ้าเพดานมักรื้อเปลี่ยนได้ง่ายกว่า โดยสามารถลำเลียงฉนวนเข้าออกทางช่องเซอร์วิสบนฝ้าเพดานได้ ส่วนการรื้อเปลี่ยนฉนวนที่ติดตั้งใต้หลังคาส่วนใหญ่มักต้องมีการรื้อกระเบื้องหลังคา ซึ่งค่อนข้างยุ่งยากกว่าภาพ: การลำเลียงฉนวนเข้าออกทางช่องเซอร์วิสบนฝ้าเพดาน
หลังจากที่ได้เห็นภาพรวมของฉนวนกันความร้อน ทั้งแบบปูใต้หลังคาและแบบปูบนฝ้าเพดานไปแล้ว การตัดสินใจเลือกฉนวนเพื่อแก้ปัญหาบ้านร้อนครั้งต่อไปก็ไม่ใช่เรื่องยาก อย่างไรก็ตาม อีกเรื่องสำคัญที่เจ้าของบ้านจะมองข้ามไม่ได้ก็คือ การทำบ้านเย็นนั้น ไม่ใช่เพียงแค่ติดตั้งฉนวนที่มี ค่า R สูง ในหลายๆ ตำแหน่งของบ้านเท่านั้น แต่จะต้อง “มีการระบายอากาศที่ดี” มิฉะนั้นความร้อนในบ้านจะถูกฉนวนกักไว้ทำให้บ้านร้อนอบอ้าว ทำนองว่าฉนวนช่วยกันความร้อนไม่ให้เข้าบ้าน แต่ก็กันความร้อนในบ้านไม่ให้ออกไปเช่นเดียวกัน การระบายอากาศที่ดี จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยพาเอาความร้อนในบ้านออกไปได้
"การติดตั้งฉนวนกันความร้อนบริเวณโถงหลังคา เป็นหนึ่งในวิธีป้องกันความร้อนที่จะส่งผ่านเข้ามาภายในบ้าน ซึ่งฉนวนที่ได้รับความนิยมจะเป็นฉนวนแบบแผ่น ในปัจจุบันมีให้เลือกหลากหลาย เราจึงควรพิจารณาถึงคุณสมบัติในด้านต่าง ๆ ความสามารถในการต้านทานความร้อน รวมถึงราคาเพื่อประกอบการตัดสินใจ"
ฉนวนมีหน้าที่ป้องกันความร้อนที่จะส่งผ่านเข้ามาภายในบ้าน รวมถึงช่วยสะท้อนรังสีความร้อนออกไปด้วย การติดตั้งฉนวนบริเวณโถงหลังคาจะช่วยลดความร้อนได้มากกว่าบริเวณอื่นในบ้าน เพราะกว่า 70% ของความร้อนที่เข้าสู่ตัวบ้านมาจากทางหลังคานี่เอง ในปัจจุบันมีฉนวนให้เลือกค่อนข้างมาก แต่สำหรับบ้านพักอาศัยมักจะนิยมใช้ฉนวนแบบแผ่น (ฉนวนกันความร้อนสำเร็จรูป มีลักษณะเป็นแผ่นหรือเป็นม้วน) เพราะสามารถรื้อเปลี่ยนใหม่ได้ง่าย หน้างานสะอาด โดยทั่วไปมี 4 ประเภทให้เลือกใช้ คือ อะลูมิเนียมฟอยล์ โพลีเอธิลีนโฟม แอร์บับเบิ้ล และใยแก้ว การเลือกใช้งานควรพิจารณาถึงคุณสมบัติ ค่ากันร้อน ลักษณะการติดตั้ง รวมถึงข้อควรระวังต่างๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจ
1. อะลูมิเนียมฟอยล์ (Aluminium Foil)
มีลักษณะเป็นแผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์ 2 หน้าบางๆ ทำหน้าที่สะท้อนความร้อน โดยมีประสิทธิภาพในการสะท้อนรังสีความร้อนได้สูงสุด 97% สามารถเลือกได้ว่าจะติดตั้งบนแปหรือใต้แปบริเวณโครงหลังคา ซึ่งเฉพาะตัวมันเองแทบจะไม่มีค่าความสามารถในการต้านทานความร้อน หรือ ค่า R (มีค่า R ประมาณ 0.000001 m2.K/W หรือ 0.0000057 hr.ft2.F/Btu) เนื่องจากไม่มีความหนาเพียงพอจึงทำหน้าที่สะท้อนความร้อนเพียงอย่างเดียว แต่ในการติดตั้งจะต้องเว้นช่องว่างอากาศซึ่งถือว่าเป็นฉนวนกันความร้อนที่มีค่ากันร้อนที่นำมาคำนวณได้ โดยเมื่อยิ่งเว้นช่องว่างอากาศระหว่างแผ่นสะท้อนความร้อนกับวัสดุมุงหลังคามากเท่าใด ก็จะมีค่า R มากขึ้น มีข้อดีคือหาซื้อได้ง่าย ทนต่อแรงดึง ไม่ฉีกขาดง่าย แต่มีข้อควรคำนึงคือควรใช้ฉนวนประเภทอื่นร่วมด้วย เนื่องจากตัวอะลูมิเนียมฟอยล์เองจะช่วยสะท้อนความร้อนแต่ไม่ได้ป้องกันความร้อนที่จะส่งผ่านเข้ามาภายในบ้าน มีราคาประมาณ 80 บาทต่อตารางเมตร
2. โพลีเอธิลีนโฟม (Polyethylene Foam-PE)
เรียกอย่างย่อว่า ฉนวนโฟม PE มีลักษณะเป็นแผ่นโฟมที่มีอะลูมิเนียมฟอยล์ 1 หรือ 2 ด้าน ประกบแต่ละชั้นให้ติดกันด้วยกาว โฟม PE ทำหน้าที่ป้องกันความร้อน ส่วนอะลูมิเนียมฟอยล์ทำหน้าที่สะท้อนความร้อน ฉนวนโฟม PE จึงสามารถป้องกันความร้อนพร้อมกับช่วยสะท้อนความร้อนในตัว ในท้องตลาดมีความหนาให้เลือกเช่น 3, 4, 5 และ 10 มม. ที่นิยมใช้เป็นฉนวนกันความร้อนคือความหนาแบบ 5 มม. ซึ่งความหนาแบบ 5 มม. นี้ ตัวมันเองมีความสามารถในการต้านทานความร้อน หรือค่า R ประมาณ 0.208 m2.K/W (1.181 hr.ft2.F/Btu) การติดตั้งจะติดตั้งแบบวางบนแป ใต้แป ใต้จันทัน (ขึงลวด/ตะแกรงลวด) หรือปูบนฝ้าเพดานก็ได้ มีข้อควรคำนึงคือ ตัวฟอยล์ที่ปิดผิว เมื่อฉีกขาดออกจนเห็นเนื้อ PE ข้างใน หากเกิดประกายไฟไปโดนจะทำให้เกิดการลามไฟได้ เนื่องจากฉนวน PE ทำมาจากพลาสติก Polyethylene Foam (แนะนำให้ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้ผลิตแต่ละราย) ราคาประมาณ 45 บาทต่อตารางเมตร (สำหรับความหนา 5 มม.)
3. แอร์บับเบิ้ล (Air Bubble เรียกอีกอย่างว่า Bubble Foil)
เป็นฉนวนที่มีลักษณะคล้ายแผ่นพลาสติกกันกระแทกที่มีมวลอากาศอยู่ตรงกลาง หากแต่มีแผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์ประกบทั้ง 2 ด้าน มวลอากาศจะทำหน้าที่ป้องกันความร้อน ส่วนอะลูมิเนียมฟอยล์ทำหน้าที่สะท้อนความร้อน มีความหนาประมาณ 4-4.5 มม. ข้อควรคำนึงคือ ตัวฟอยล์ที่ปิดผิว เมื่อฉีกขาดออกจนเห็นเนื้อข้างใน หากเกิดประกายไฟไปโดนฉนวนด้านในจะทำให้เกิดการลามไฟได้ เนื่องจากฉนวน Bubble Foil ทำมาจากพลาสติกชนิดหนึ่ง (แนะนำให้ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้ผลิตแต่ละราย) สามารถติดตั้งได้หลายตำแหน่ง ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งบริเวณโครงหลังคาแบบวางบนแป ใต้แป ใต้จันทัน (ขึงลวด/ตะแกรงลวด) หรือการปูบนฝ้าเพดาน ตัวมันเองมีความสามารถในการต้านทานความร้อน หรือค่า R (Resistivity) ประมาณ 0.101 m2.K/W (0.573 hr.ft2.F/Btu) มีราคาประมาณ 70 บาทต่อตารางเมตร
4.ใยแก้ว (Fiberglass)
ฉนวนใยแก้วจะห่อหุ้มด้วยอะลูมิเนียมฟอยล์ โดยใยแก้วทำหน้าที่ป้องกันความร้อนและอะลูมิเนียมฟอยล์ทำหน้าที่สะท้อนความร้อน ฉนวนใยแก้วมีหลายรูปแบบ สำหรับบ้านพักอาศัยจะมีทั้งแบบที่เหมาะกับการติดตั้งบนแปบริเวณโครงหลังคา และแบบปูบนฝ้าเพดานซึ่งสามารถติดตั้งได้ง่าย ไม่ลามไฟ มีข้อควรคำนึงคือ ต้องเตรียมพื้นที่สำหรับการกองเก็บพอสมควร (เป็นม้วนหนากว่าฉนวนแบบแผ่นประเภทอื่น)
สำหรับฉนวนใยแก้วกันความร้อนของ เอสซีจี จะมีหลายรุ่นให้เลือกใช้ โดยรุ่นที่เหมาะกับบ้านพักอาศัยจะเป็นฉนวนแบบปูบนฝ้าเพดานรุ่น STAY COOL หนา 75 มม. ซึ่งมีค่า R ประมาณ 1.786 m2.K/W (10.139 hr.ft2.F/Btu) ราคาประมาณ 146 บาทต่อตารางเมตร และฉนวนรุ่น STAY COOL หนา 150 มม. ซึ่งมีค่า R ประมาณ 3.571 m2.K/W (20.273 hr.ft2.F/Btu) ราคาประมาณ 188 บาทต่อตารางเมตร ส่วนบ้านที่เลือกใช้กระเบื้องหลังคาของ เอสซีจี บางรุ่น สามารถเลือกใช้ รุ่นอัลตราคูล ที่ติดตั้งบนแปก็ได้เช่นกัน ซึ่งมีค่า R ประมาณ 1.786 m2.K/W(10.139 hr.ft2.F/Btu) มีราคาประมาณ 200 บาทต่อตารางเมตร
หลังจากที่ได้รู้จักฉนวนแบบแผ่นแต่ละประเภทแล้ว จะเห็นได้ว่าฉนวนแต่ละประเภทมีคุณสมบัติและราคาแตกต่างกันไป อย่างไรก็ดีอายุการใช้งานของฉนวนแต่ละประเภทอาจไม่แตกต่างกันมากนัก การตัดสินใจเลือกใช้อาจพิจารณาจากความคุ้มค่าเป็นสำคัญ ซึ่งสามาถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากบทความ “Q&A : เลือกฉนวนกันความร้อนอย่างไรให้คุ้มค่า”
นอกจากการเลือกใช้ฉนวนเพื่อติดตั้งบริเวณโถงหลังคาซึ่งความร้อนจะผ่านเข้ามาทางนี้เป็นส่วนใหญ่แล้ว ยังมีผนังบ้านซึ่งเป็นบริเวณหนึ่งที่ความร้อนจะสามารถผ่านเข้ามาได้เช่นกัน ซึ่งเราอาจเลือกวิธีการติดตั้งฉนวนบริเวณผนัง หรือใช้วิธีลดความร้อนด้วยการทำระแนงแผงบังแดดก็ตาม สิ่งสำคัญอย่าลืมเรื่องการระบายถ่ายเทอากาศภายในบ้านที่ดีด้วย
ขอขอบคุณแหล่งที่มาจาก
บริษัท สยามไฟเบอร์กลาส จำกัด
รูปสินค้า ฉนวนกันความร้อนเอสซีจี |
รุ่น |
ขนาด (เมตร) |
ความหนา |
ความหนาแน่น (กก./ลบ.ม.) |
คุณสมบัติ |
STAY COOL |
1.2x2.40 |
3 นิ้ว(75มม.) |
12กก. |
ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น STAY COOL ผลิตจากใยแก้ว ออกแบบมาสำหรับติดตั้งบริเวณเหนือฝ้าเพดาน ทั้งแบบฉาบเรียบและแบบ ที-บาร์ เพื่อป้องกันความร้อนที่มาทางโถงหลังคา ผ่านฝ้าเพดานลงมาสู่ภายในบ้าน | |
STAY COOL |
1.2x2.40 |
6 นิ้ว(150 มม.) |
12กก |
ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น STAY COOL ผลิตจากใยแก้ว ออกแบบมาสำหรับติดตั้งบริเวณเหนือฝ้าเพดาน ทั้งแบบฉาบเรียบและแบบ ที-บาร์ เพื่อป้องกันความร้อนที่มาทางโถงหลังคา ผ่านฝ้าเพดานลงมาสู่ภายในบ้าน | |
HTIF | 1.22X15.25 | 50 MM. | 32 | ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี สำหรับงานทนอุณหภูมิสูง เป็นฉนวนใยแก้วที่ไม่ติดไฟ ผสมด้วยกาวชนิดพิเศษที่ทนอุณหภูมิสูงถึง 540 องศาเซลเซียส มีน้ำหนักเบา คงรูป ฝุ่นน้อย ทนแรงกดได้ดี และติดตั้งง่ายมีให้เลือกใช้งานทั้งแบบม้วนและแบบแผ่นตามลักษณะการใช้งาน | |
ROOF BATT |
0.95x0.60 ม. |
75 มม. |
12 |
ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น ROOF BATT ผลิตจากใยแก้ว ออกแบบมาสำหรับติดตั้งบริเวณหลังคา
|
|
HTIFD | 1.22X15.25 | 50 มม. | 32 | ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี สำหรับงานทนอุณหภูมิสูง เป็นฉนวนใยแก้วที่ไม่ติดไฟ ผสมด้วยกาวชนิดพิเศษที่ทนอุณหภูมิสูงถึง 540 องศาเซลเซียส มีน้ำหนักเบา คงรูป ฝุ่นน้อย ทนแรงกดได้ดี และติดตั้งง่ายมีให้เลือกใช้งานทั้งแบบม้วนและแบบแผ่นตามลักษณะการใช้งาน | |
FRK-G | 1.22X15.25 | 50 มม. | 24 | ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี สำหรับงานหุ้มท่อปรับอากาศ เหมาะสำหรับหุ้มท่อลมปรับอากาศ ช่วยป้องกันการควบแน่นเป็นหยดน้ำ รักษาอุณหภูมิภายในท่อปรับอากาศ และช่วยประหยัดพลังงาน สามารถใช้ในงานหุ้มท่อลมปรับอากาศของอาคาร, สำนักงาน, ศูนย์การค้า และบ้านพักอาศัย ที่อุณหภูมิใช้งานตั้งแต่ 4 องศาเซลเซียส ถึง 120 องศาเซลเซียส | |
HTIFD | 1.22X15.25 | 50 มม. | 26 | ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี สำหรับงานทนอุณหภูมิสูง เป็นฉนวนใยแก้วที่ไม่ติดไฟ ผสมด้วยกาวชนิดพิเศษที่ทนอุณหภูมิสูงถึง 540 องศาเซลเซียส มีน้ำหนักเบา คงรูป ฝุ่นน้อย ทนแรงกดได้ดี และติดตั้งง่ายมีให้เลือกใช้งานทั้งแบบม้วนและแบบแผ่นตามลักษณะการใช้งาน | |
HTIFD | 1.22X15.25 | 50 มม. | 16 | ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี สำหรับงานทนอุณหภูมิสูง เป็นฉนวนใยแก้วที่ไม่ติดไฟ ผสมด้วยกาวชนิดพิเศษที่ทนอุณหภูมิสูงถึง 540 องศาเซลเซียส มีน้ำหนักเบา คงรูป ฝุ่นน้อย ทนแรงกดได้ดี และติดตั้งง่ายมีให้เลือกใช้งานทั้งแบบม้วนและแบบแผ่นตามลักษณะการใช้งาน | |
อลูมิเนียมเทปฟอยล์ขนาดหน้ากว้าง 2.5 นิ้ว |
แผ่นอลูมิเนี่ยมเทปฟอยล์เป็นเทปกาวที่ผลิตจากแผ่นโลหะอลูมิเนียม ฟอยล์ เนื้อกาวมีคุณสมบัติพิเศษและทนทานต่ออุณหภูมิที่แตกต่างได้ดี สามารถยึดเกาะกับชิ้นงานและวัสดุปิดผิวได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นวัสดุที่ไม่เสื่อมสภาพจึงคงสภาพการใช้งานได้ยาวนาน | ||||
HTIF | 1.22X15.25 | 50 มม. | 16 | ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี สำหรับงานทนอุณหภูมิสูง เป็นฉนวนใยแก้วที่ไม่ติดไฟ ผสมด้วยกาวชนิดพิเศษที่ทนอุณหภูมิสูงถึง 540 องศาเซลเซียส มีน้ำหนักเบา คงรูป ฝุ่นน้อย ทนแรงกดได้ดี และติดตั้งง่ายมีให้เลือกใช้งานทั้งแบบม้วนและแบบแผ่นตามลักษณะการใช้งาน | |
HTIF | 1.22X7.50 | 75 มม. | 32 | ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี สำหรับงานทนอุณหภูมิสูง เป็นฉนวนใยแก้วที่ไม่ติดไฟ ผสมด้วยกาวชนิดพิเศษที่ทนอุณหภูมิสูงถึง 540 องศาเซลเซียส มีน้ำหนักเบา คงรูป ฝุ่นน้อย ทนแรงกดได้ดี และติดตั้งง่ายมีให้เลือกใช้งานทั้งแบบม้วนและแบบแผ่นตามลักษณะการ | |
HTIFD | 1.22X2.44 | 50 มม. | 32 | ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี สำหรับงานทนอุณหภูมิสูง เป็นฉนวนใยแก้วที่ไม่ติดไฟ ผสมด้วยกาวชนิดพิเศษที่ทนอุณหภูมิสูงถึง 540 องศาเซลเซียส มีน้ำหนักเบา คงรูป ฝุ่นน้อย ทนแรงกดได้ดี และติดตั้งง่ายมีให้เลือกใช้งานทั้งแบบม้วนและแบบแผ่นตามลักษณะการ | |
HTIFD | 1.22X2.44 | 75 มม. | 38 | ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี สำหรับงานทนอุณหภูมิสูง เป็นฉนวนใยแก้วที่ไม่ติดไฟ ผสมด้วยกาวชนิดพิเศษที่ทนอุณหภูมิสูงถึง 540 องศาเซลเซียส มีน้ำหนักเบา คงรูป ฝุ่นน้อย ทนแรงกดได้ดี และติดตั้งง่ายมีให้เลือกใช้งานทั้งแบบม้วนและแบบแผ่นตามลักษณะการ | |
HTIFD | 1.22X2.44 | 50 มม. | 48 | ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี สำหรับงานทนอุณหภูมิสูง เป็นฉนวนใยแก้วที่ไม่ติดไฟ ผสมด้วยกาวชนิดพิเศษที่ทนอุณหภูมิสูงถึง 540 องศาเซลเซียส มีน้ำหนักเบา คงรูป ฝุ่นน้อย ทนแรงกดได้ดี และติดตั้งง่ายมีให้เลือกใช้งานทั้งแบบม้วนและแบบแผ่นตามลักษณะการ | |
HTIFD | 1.22X2.44 | 75 มม. | 32 | ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี สำหรับงานทนอุณหภูมิสูง เป็นฉนวนใยแก้วที่ไม่ติดไฟ ผสมด้วยกาวชนิดพิเศษที่ทนอุณหภูมิสูงถึง 540 องศาเซลเซียส มีน้ำหนักเบา คงรูป ฝุ่นน้อย ทนแรงกดได้ดี และติดตั้งง่ายมีให้เลือกใช้งานทั้งแบบม้วนและแบบแผ่นตามลักษณะการ | |
HTIFD | 1.22X2.44 | 50 มม. | 38 | ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี สำหรับงานทนอุณหภูมิสูง เป็นฉนวนใยแก้วที่ไม่ติดไฟ ผสมด้วยกาวชนิดพิเศษที่ทนอุณหภูมิสูงถึง 540 องศาเซลเซียส มีน้ำหนักเบา คงรูป ฝุ่นน้อย ทนแรงกดได้ดี และติดตั้งง่ายมีให้เลือกใช้งานทั้งแบบม้วนและแบบแผ่นตามลักษณะการ | |
HTIF | 1.22X2.44 | 50 มม. | 48 | ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี สำหรับงานทนอุณหภูมิสูง เป็นฉนวนใยแก้วที่ไม่ติดไฟ ผสมด้วยกาวชนิดพิเศษที่ทนอุณหภูมิสูงถึง 540 องศาเซลเซียส มีน้ำหนักเบา คงรูป ฝุ่นน้อย ทนแรงกดได้ดี และติดตั้งง่ายมีให้เลือกใช้งานทั้งแบบม้วนและแบบแผ่นตามลักษณะการ | |
HTI | 1.22X7.50 | 75 มม. | 32 | ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี สำหรับงานทนอุณหภูมิสูง เป็นฉนวนใยแก้วที่ไม่ติดไฟ ผสมด้วยกาวชนิดพิเศษที่ทนอุณหภูมิสูงถึง 540 องศาเซลเซียส มีน้ำหนักเบา คงรูป ฝุ่นน้อย ทนแรงกดได้ดี และติดตั้งง่ายมีให้เลือกใช้งานทั้งแบบม้วนและแบบแผ่นตามลักษณะการ | |
HTIFD | 1.22X7.50 | 75 มม. | 32 | ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี สำหรับงานทนอุณหภูมิสูง เป็นฉนวนใยแก้วที่ไม่ติดไฟ ผสมด้วยกาวชนิดพิเศษที่ทนอุณหภูมิสูงถึง 540 องศาเซลเซียส มีน้ำหนักเบา คงรูป ฝุ่นน้อย ทนแรงกดได้ดี และติดตั้งง่ายมีให้เลือกใช้งานทั้งแบบม้วนและแบบแผ่นตามลักษณะการ | |
HTI | 1.22X2.44 | 75 มม. | 38 | ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี สำหรับงานทนอุณหภูมิสูง เป็นฉนวนใยแก้วที่ไม่ติดไฟ ผสมด้วยกาวชนิดพิเศษที่ทนอุณหภูมิสูงถึง 540 องศาเซลเซียส มีน้ำหนักเบา คงรูป ฝุ่นน้อย ทนแรงกดได้ดี และติดตั้งง่ายมีให้เลือกใช้งานทั้งแบบม้วนและแบบแผ่นตามลักษณะการ | |
HTI | 1.22X15.25 | 50 มม. | 32 | ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี สำหรับงานทนอุณหภูมิสูง เป็นฉนวนใยแก้วที่ไม่ติดไฟ ผสมด้วยกาวชนิดพิเศษที่ทนอุณหภูมิสูงถึง 540 องศาเซลเซียส มีน้ำหนักเบา คงรูป ฝุ่นน้อย ทนแรงกดได้ดี และติดตั้งง่ายมีให้เลือกใช้งานทั้งแบบม้วนและแบบแผ่นตามลักษณะการ | |
HTI | 1.22X15.25 | 50 มม. | 16 | ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี สำหรับงานทนอุณหภูมิสูง เป็นฉนวนใยแก้วที่ไม่ติดไฟ ผสมด้วยกาวชนิดพิเศษที่ทนอุณหภูมิสูงถึง 540 องศาเซลเซียส มีน้ำหนักเบา คงรูป ฝุ่นน้อย ทนแรงกดได้ดี และติดตั้งง่ายมีให้เลือกใช้งานทั้งแบบม้วนและแบบแผ่นตามลักษณะการ | |
PCCF |
1 นิ้ว |
หุ้มท่อทองแดงติดฟอยล์ขนาดท่อทองแดง 4 1/8
|
ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี สำหรับหุ้มท่อน้ำร้อนน้ำเย็น ผลิตจากฉนวนใยแก้วที่ผ่านการขึ้นรูปให้เป็นท่อนอัดแข็งตามขนาดท่อเหล็ก และท่อทองแดง มีความหนา และเส้นผ่าศูนย์กลางหลายขนาด |
||
PCCF |
1.5 นิ้ว | หุ้มท่อทองแดงติดฟอยล์ขนาดท่อทองแดง 4 1/8 | ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี สำหรับหุ้มท่อน้ำร้อนน้ำเย็น ผลิตจากฉนวนใยแก้วที่ผ่านการขึ้นรูปให้เป็นท่อนอัดแข็งตามขนาดท่อเหล็ก และท่อทองแดง มีความหนา และเส้นผ่าศูนย์กลางหลายขนาด | ||
PCCF |
2 นิ้ว | หุ้มท่อทองแดงติดฟอยล์ขนาดท่อทองแดง 4 1/8 | ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี สำหรับหุ้มท่อน้ำร้อนน้ำเย็น ผลิตจากฉนวนใยแก้วที่ผ่านการขึ้นรูปให้เป็นท่อนอัดแข็งตามขนาดท่อเหล็ก และท่อทองแดง มีความหนา และเส้นผ่าศูนย์กลางหลายขนาด | ||
PCCF |
2.5 นิ้ว | หุ้มท่อทองแดงติดฟอยล์ขนาดท่อทองแดง 4 1/8 | ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี สำหรับหุ้มท่อน้ำร้อนน้ำเย็น ผลิตจากฉนวนใยแก้วที่ผ่านการขึ้นรูปให้เป็นท่อนอัดแข็งตามขนาดท่อเหล็ก และท่อทองแดง มีความหนา และเส้นผ่าศูนย์กลางหลายขนาด |