เปิดทำการ จันทร์-เสาร์ เวลา 07.30 - 17.00 น.
สามารถสอบถามได้ทาง Line : @kpphm 

ห้างหุ้นส่วนจำกัด กิจเพิ่มพูลค้าวัสดุก่อสร้าง    

 
TH EN

STAY COOL ฉนวนอยู่เย็น 6 นิ้ว

รหัส :
ราคา 459บาท

12 พฤษภาคม 2566

ผู้ชม 318 ผู้ชม

ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น STAY COOL

จุดเด่น

 
สีสวย ไม่ซีดจาง สีสวย ไม่ซีดจาง สีสวย ไม่ซีดจาง สีสวย ไม่ซีดจาง
ลดความร้อน
3-4 องศาเซลเซียส
ป้องกันความร้อนได้ถึง 6 เท่า
สะท้อนความร้อน 95%
ลดการทำงานของ
เครื่องปรับอากาศ
บนฝ้าทีบาร์และฉาบเรียบ
สำหรับบ้านเก่าและสร้างใหม่
สีสวย ไม่ซีดจาง สีสวย ไม่ซีดจาง สีสวย ไม่ซีดจาง สีสวย ไม่ซีดจาง
ได้รับฉลากเขียวและ
SCG GREEN CHOICE
เนื้อฉนวนหนาพิเศษ
กันความร้อนได้ดีกว่าฉนวนทั่วไป
หุ้มรอบด้านด้วยอะลูมิเนียม
ฟอล์ยเสริมแรงจึงทนทาน
ทดสอบตามมาตรฐาน ASTM E84และBS476

 

 

ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น STAY COOL

ปูฉนวนกันความร้อนแบบไหน ให้บ้านใหม่

 
ปูฉนวนกันความร้อนแบบไหน ให้บ้านใหม่

ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี มีหลายประเภท ซึ่งควรพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ เพื่อเลือกให้เหมาะสมกับบ้านของเราที่กำลังจะสร้างใหม่ให้มากที่สุด

เพราะบ้านเราขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองร้อน เมื่อคิดจะสร้างบ้านสักหลัง เจ้าของบ้านหลายคนจึงคำนึงถึงเรื่องความร้อนที่จะผ่านเข้าสู่ตัวบ้านเป็นอันดับต้นๆ หนึ่งในตัวเลือกคือการปูฉนวนกันความร้อนแบบแผ่น สำหรับใครที่กำลังสนใจหรือพิจารณาจะใช้ฉนวนกันความร้อนของเอสซีจี แนะนำให้ทำความรู้จักกับฉนวนแต่ละประเภท เลือกให้เหมาะสมกับรูปแบบหลังคา และดูความเหมาะสมและคุ้มค่าก่อนการตัดสินใจ

ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี มีประเภทไหนบ้าง

ฉนวนกันความร้อนเอสซีจี มีหลากหลายรุ่นให้เลือก หากไม่รู้ว่าจะเลือกรุ่นไหนดี เรามาทำความรู้จักกับฉนวนกันความร้อนของเอสซีจีแต่ละรุ่นกันก่อนดีกว่า ฉนวนกันความร้อนเอสซีจีมี 3 ประเภท คือ แผ่นสะท้อนความร้อน เอสซีจี, แผ่นสะท้อนความร้อน เอสซีจี รุ่นอัลตราคูล และ ฉนวนกันความร้อนเอสซีจี รุ่น STAY COOL

1. แผ่นสะท้อนความร้อน เอสซีจี เป็นแผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์บางๆ 2 ชั้นมาประกบกัน ตรงกลางจะมีชั้นของโพลีเอทธีลีนฟิล์ม กระดาษคราฟท์ เส้นใยแก้วสามทาง รวมถึงสารเคมีช่วยป้องกันการลามไฟ ฉนวนประเภทนี้จะสะท้อนรังสีความร้อนได้สูงถึง 95% สามารถติดตั้งได้กับหลังคามุงทุกประเภท ทั้งบนแปและใต้แป

แผ่นสะท้อนความร้อนเอสซีจีภาพ: แผ่นสะท้อนความร้อน SCG

2. แผ่นสะท้อนความร้อน เอสซีจี รุ่นอัลตราคูล ประกอบด้วยแผ่นสะท้อนความร้อนและฉนวนใยแก้ว ซึ่งมีร่องพอดีกับระยะแป จึงเหมาะกับการติดตั้งบนแปตามความลาดเอียงหลังคา และด้วยความที่มีทั้งแผ่นสะท้อนความร้อนที่ช่วยสะท้อนรังสีความร้อนได้ถึง 95% กับฉนวนใยแก้วที่ช่วยหน่วงความร้อนก่อนเข้าสู่ตัวบ้าน ทำให้มีประสิทธิภาพในการป้องกันความร้อนดีกว่าการติดตั้งแผ่นสะท้อนความร้อนเพียงอย่างเดียวถึง 30% *แผ่นสะท้อนความร้อน เอสซีจี รุ่นอัลตราคูล สามารถใช้กับกระเบื้องหลังคาของเอสซีจีบางรุ่นเท่านั้น

แผ่นสะท้อนความร้อนเอสซีจีรุ่นอัลตราคูลภาพ: แผ่นสะท้อนความร้อน เอสซีจี รุ่นอัลตราคูล

3. ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น STAY COOL (ฉนวนกันความร้อนใยแก้ว) เป็นฉนวนที่ผลิตจากใยแก้ว หุ้มด้วยอะลูมิเนียมฟอยล์เสริมแรง จึงช่วยทั้งสะท้อนความร้อนและหน่วงความร้อนก่อนเข้าสู่ตัวบ้าน โดยถูกออกแบบมาให้เหมาะสำหรับการติดตั้งเหนือฝ้าเพดาน (ทั้งฝ้าแบบฉาบเรียบและแบบที-บาร์) มีให้เลือก 2 ความหนาคือ 75 มิลลิเมตร (3นิ้ว) และ 150 มิลลิเมตร (6นิ้ว) *ฉนวนใยแก้ว ยิ่งมีความหนามาก ก็ยิ่งสามารถป้องกันความร้อนได้ดี ทั้งนี้ควรพิจารณาการรับน้ำหนักของโครงคร่าวฝ้าเพดานประกอบการตัดสินใจด้วย

ฉนวนกันความร้อนเอสซีจีรุ่นSTAYCOOLภาพ: ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น STAY COOL ความหนา 75 มม. และ 150 มม.

การติดตั้งฉนวนกันความร้อนภาพ: ตำแหน่งการติดตั้งฉนวนกันความร้อน เอสซีจี แต่ละประเภท

เลือกฉนวนกันร้อน เอสซีจี ให้เหมาะสมกับรูปแบบหลังคา

เราขอแบ่งหลังคาบ้านเป็น 2 รูปแบบใหญ่ๆ คือ หลังคาแบบมีวัสดุมุง (มีหลายรูปทรง เช่น ทรงจั่ว ทรงปั้นหยา ทรงเพิงหมาแหงน เป็นต้น) กับหลังคาคอนกรีตเสริมเหล็ก สำหรับหลังคาแบบมีวัสดุมุง จะเลือกใช้ฉนวนกันความร้อนได้ทุกประเภทข้างต้น ซึ่งอาจจะเลือกประเภทใดประเภทหนึ่ง หรือติดตั้ง 2 ประเภทควบคู่กันก็ได้ เช่น ติดตั้งแผ่นสะท้อนความร้อน เอสซีจี หรือ รุ่นอังตราคูล ควบคู่กับการปูฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น STAY COOL (ขึ้นอยู่กับงบประมาณ ความคุ้มค่า และรุ่นกระเบื้องหลังคาที่มุงในกรณีที่เลือกใช้แผ่นสะท้อนความร้อน เอสซีจี รุ่นอัลตราคูล) ส่วนหลังคาคอนกรีตเสริมเหล็ก สามารถเลือกใช้ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น Stay Cool ซึ่งเป็นแบบปูบนฝ้าเพดานเท่านั้น โดยสามารถเลือกความหนาแบบ 75 มิลลิเมตร (3 นิ้ว) หรือ 150 มิลลิเมตร (6 นิ้ว) ตามความเหมาะสมของโครงคร่าวและงบประมาณ

ฉนวนกันความร้อนภาพ: หลังคาแบบมีวัสดุมุง จะเลือกใช้ฉนวนกันความร้อนได้ทุกประเภท ส่วนหลังคาคอนกรีตเสริมเหล็ก สามารถเลือกใช้ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น Stay Cool ซึ่งเป็นแบบปูบนฝ้าเพดานเท่านั้น

ดูความเหมาะสมและคุ้มค่าก่อนตัดสินใจ

ประสิทธิภาพในการป้องกันความร้อนของฉนวนกันความร้อนแต่ละประเภท เราดูที่ “ค่าความสามารถในการต้านทานความร้อน” หรือ ค่า R (Resistivity) เป็นหลัก ฉนวนที่มีค่า R ยิ่งสูง ประสิทธิภาพในการป้องกันความร้อนจะยิ่งมาก ซึ่งค่า R หาได้จาก “ความหนาฉนวนหารด้วย ค่า K (Conductivity)” หากดูจากตารางด้านล่าง ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น STAY COOL ความหนา 6 นิ้ว จะมีค่า R มากสุด และเมื่อเปรียบเทียบราคาต่อตารางเมตรหารด้วยค่า R ยังถือว่าคุ้มค่ามากสุดด้วย

เปรียบเทียบฉนวนแต่ละประเภทภาพ: ตารางเปรียบเทียบค่า R และ ราคาต่อตารางเมตร (โดยประมาณ) ของฉนวนกันความร้อน เอสซีจี แต่ละประเภท

นอกจากการติดตั้งฉนวนแต่ละประเภทแบบเดี่ยวๆ แล้ว เรายังสามารถเลือกติดตั้งควบคู่กันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความร้อนให้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย จากผลทดสอบตามตารางด้านล่าง หากดูค่า R เป็นหลัก การเลือกใช้แผ่นสะท้อนความร้อน เอสซีจี รุ่นอัลตราคูล ควบคู่กับฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น STAY COOL ความหนา 150 มม. จะป้องกันความร้อนได้ดีสุด (เหมาะกับบ้านที่ใช้หลังคารุ่นที่สามารถติดตั้งแผ่นสะท้อนความร้อน เอสซีจี รุ่นอัลตราคูลได้เท่านั้น) ทั้งนี้ ควรเลือกใช้ฉนวนที่สอดคล้องกับงบประมาณที่เราตั้งไว้ให้สอดคล้องและคุ้มค่ากับประสิทธิภาพการกันความร้อนที่ได้

เปรียบเทียบการกันความร้อนภาพ: ตารางเปรียบเทียบผลการทดสอบการกันความร้อนของฉนวนกันความร้อน เอสซีจี แต่ละประเภทที่ติดตั้งร่วมกัน

เมื่อตัดสินใจได้แล้ว ว่าจะเลือกติดตั้งฉนวนประเภทไหน จะติดตั้งแบบเดี่ยวหรือแบบควบคู่กัน อย่าลืมเลือกให้สอดคล้องกับหลังคาและรูปแบบบ้านแต่ละหลัง เพื่อความคุ้มค่าและประสิทธิภาพในการกันร้อนที่สูงสุดด้วย

แก้ปัญหาบ้านร้อน ปูฉนวนกันความร้อนใต้หลังคา

กับปูบนฝ้าเพดาน แบบไหนบ้านเย็นกว่ากัน ?

แก้ปัญหาบ้านร้อน ปูฉนวนกันความร้อนใต้หลังคา กับปูบนฝ้าเพดาน แบบไหนบ้านเย็นกว่ากัน ?

ข้อแตกต่างและข้อคำนึงในการเลือกฉนวนกันความร้อนเพื่อบ้านเย็น ว่าจะใช้ฉนวนแบบปูใต้หลังคาหรือปูบนฝ้าเพดาน เพื่อการแก้ปัญหาบ้านร้อนที่ได้ประสิทธิภาพ

ตัวช่วยแก้ปัญหาบ้านร้อน อย่างฉนวนกันความร้อนทั้งแบบปูบนฝ้าเพดานและแบบปูใต้หลังคา ต่างก็มีคุณสมบัติป้องกันความร้อน ช่วยลดความร้อนจากโถงหลังคาที่จะเข้าสู่ตัวบ้าน ทำบ้านเย็นขึ้นได้ทั้งคู่ โดยข้อคำนึงหลักๆ ที่เจ้าของบ้านควรพิจารณาในการเลือกใช้งานก็คือ ค่าการกันความร้อน (ค่า R) ตำแหน่งการติดตั้ง รูปแบบของฉนวน และการดูแลรักษา

ค่าการกันความร้อน หรือ ค่า R ของฉนวนกันความร้อน

การจะปูฉนวนกันความร้อนเหนือฝ้าเพดาน หรือปูใต้หลังคานั้น ประสิทธิภาพการกันความร้อนอาจให้ผลไม่ต่างกันมากนัก เพราะปัจจัยที่สำคัญกว่าคือ “ค่าการกันความร้อน” เป็นความสามารถในการต้านทานความร้อน หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า “ค่า R” ในการเลือกซื้อฉนวนกันความร้อน จึงควรดูค่า R เป็นหลัก โดยวัสดุแต่ละชนิดจะมีค่า R แตกต่างกัน ทั้งนี้ ค่า R จะสัมพันธ์กับความหนาของฉนวน โดยฉนวนยิ่งหนา ค่า R จะยิ่งสูง

 

ตำแหน่งการติดตั้งฉนวนกันความร้อน

ฉนวนกันความร้อนแบบปูใต้หลังคาจะติดตั้งไปตามความลาดเอียงของหลังคา ซึ่งต้องมีวิธียึดติดตั้งฉนวนให้แนบไปกับหลังคาตามที่ผู้ผลิตกำหนด ส่วนการติดตั้งฉนวนแบบปูบนฝ้าเพดาน จะเป็นวางหรือปูฉนวนเรียงไปบนฝ้าเพดานเท่านั้น ซึ่งโดยทั่วไปมักไม่มีการยึดฉนวนเข้ากับโครงคร่าวฝ้า

ฉนวนกันความร้อนSCGภาพ: การติดตั้งฉนวนกันความร้อนแบบปูใต้หลังคา

ฉนวนกันความร้อนSCGภาพ: การติดตั้งฉนวนกันความร้อนแบบปูบนฝ้าเพดาน

 

รูปแบบของฉนวนกันความร้อน

- ฉนวนกันความร้อนแบบปูใต้หลังคา จะมีทั้ง วัสดุโฟม PU สำหรับพ่นใต้กระเบื้องหลังคาตามความหนาที่ต้องการ (2-3 นิ้ว โดยทั่วไป) หรือจะเป็นวัสดุแบบแผ่นหุ้มอะลูมิเนียมฟอยล์ อย่างโพลีเอธิลีนโฟม (PE หรือ โฟมพีอี) Air Bubble รวมถึงแผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์สะท้อนรังสีความร้อนที่มีให้เลือกทั้งแบบธรรมดา และแบบมีฉนวนใยแก้วซ่อนด้านในช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการกันความร้อนฉนวนกันความร้อนภาพ: ฉนวนกันความร้อนแบบแผ่น Air Bubble (บนซ้าย) โพลีเอธิลีนโฟม (ล่างซ้าย) และ แบบโฟม PU สำหรับพ่นใต้วัสดุมุงหลังคา (ขวา)

แผ่นสะท้อนความร้อนSCGภาพ: แผ่นสะท้อนความร้อนอะลูมิเนียมฟอยล์ มีคุณสมบัติช่วยสะท้อนรังสีความร้อนจากหลังคา

แผ่นสะท้อนความร้อนSCGภาพ: แผ่นสะท้อนความร้อนอะลูมิเนียมฟอยล์แบบมีฉนวนใยแก้วกันความร้อนซ่อนด้านใน ใช้สำหรับติดตั้งบนแปหลังคา

- ฉนวนกันความร้อนแบบปูบนฝ้าเพดาน อาจเลือกใช้ฉนวนกันความร้อนแบบแผ่นที่ปูใต้หลังคาได้อย่าง โพลีเอธิลีนโฟม Air Bubble หรือจะเลือกใช้ฉนวนใยแก้วแบบม้วนก็ได้ฉนวนกันความร้อนSCGภาพ: ฉนวนกันความร้อน SCG รุ่น STAY COOL เป็นฉนวนใยแก้วหุ้มอะลูมิเนียมฟอยล์ สำหรับวางบนฝ้าเพดาน

 

การดูแลรักษาฉนวนกันความร้อน

หากเทียบกันแล้ว ฉนวนที่ปูบนฝ้าเพดานมักรื้อเปลี่ยนได้ง่ายกว่า โดยสามารถลำเลียงฉนวนเข้าออกทางช่องเซอร์วิสบนฝ้าเพดานได้ ส่วนการรื้อเปลี่ยนฉนวนที่ติดตั้งใต้หลังคาส่วนใหญ่มักต้องมีการรื้อกระเบื้องหลังคา ซึ่งค่อนข้างยุ่งยากกว่าฉนวนกันความร้อนSCGภาพ: การลำเลียงฉนวนเข้าออกทางช่องเซอร์วิสบนฝ้าเพดาน

หลังจากที่ได้เห็นภาพรวมของฉนวนกันความร้อน ทั้งแบบปูใต้หลังคาและแบบปูบนฝ้าเพดานไปแล้ว การตัดสินใจเลือกฉนวนเพื่อแก้ปัญหาบ้านร้อนครั้งต่อไปก็ไม่ใช่เรื่องยาก อย่างไรก็ตาม อีกเรื่องสำคัญที่เจ้าของบ้านจะมองข้ามไม่ได้ก็คือ การทำบ้านเย็นนั้น ไม่ใช่เพียงแค่ติดตั้งฉนวนที่มี ค่า R สูง ในหลายๆ ตำแหน่งของบ้านเท่านั้น แต่จะต้อง “มีการระบายอากาศที่ดี” มิฉะนั้นความร้อนในบ้านจะถูกฉนวนกักไว้ทำให้บ้านร้อนอบอ้าว ทำนองว่าฉนวนช่วยกันความร้อนไม่ให้เข้าบ้าน แต่ก็กันความร้อนในบ้านไม่ให้ออกไปเช่นเดียวกัน การระบายอากาศที่ดี จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยพาเอาความร้อนในบ้านออกไปได้

 

4 ฉนวนกันความร้อนแบบแผ่นยอดฮิต ติดตั้งบริเวณโถงหลังคา

"การติดตั้งฉนวนกันความร้อนบริเวณโถงหลังคา เป็นหนึ่งในวิธีป้องกันความร้อนที่จะส่งผ่านเข้ามาภายในบ้าน ซึ่งฉนวนที่ได้รับความนิยมจะเป็นฉนวนแบบแผ่น ในปัจจุบันมีให้เลือกหลากหลาย เราจึงควรพิจารณาถึงคุณสมบัติในด้านต่าง ๆ ความสามารถในการต้านทานความร้อน รวมถึงราคาเพื่อประกอบการตัดสินใจ"

       ฉนวนมีหน้าที่ป้องกันความร้อนที่จะส่งผ่านเข้ามาภายในบ้าน รวมถึงช่วยสะท้อนรังสีความร้อนออกไปด้วย การติดตั้งฉนวนบริเวณโถงหลังคาจะช่วยลดความร้อนได้มากกว่าบริเวณอื่นในบ้าน เพราะกว่า 70% ของความร้อนที่เข้าสู่ตัวบ้านมาจากทางหลังคานี่เอง ในปัจจุบันมีฉนวนให้เลือกค่อนข้างมาก แต่สำหรับบ้านพักอาศัยมักจะนิยมใช้ฉนวนแบบแผ่น (ฉนวนกันความร้อนสำเร็จรูป มีลักษณะเป็นแผ่นหรือเป็นม้วน) เพราะสามารถรื้อเปลี่ยนใหม่ได้ง่าย หน้างานสะอาด โดยทั่วไปมี 4 ประเภทให้เลือกใช้ คือ อะลูมิเนียมฟอยล์ โพลีเอธิลีนโฟม แอร์บับเบิ้ล และใยแก้ว การเลือกใช้งานควรพิจารณาถึงคุณสมบัติ ค่ากันร้อน ลักษณะการติดตั้ง รวมถึงข้อควรระวังต่างๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจ

       1. อะลูมิเนียมฟอยล์ (Aluminium Foil)

       มีลักษณะเป็นแผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์ 2 หน้าบางๆ ทำหน้าที่สะท้อนความร้อน โดยมีประสิทธิภาพในการสะท้อนรังสีความร้อนได้สูงสุด 97% สามารถเลือกได้ว่าจะติดตั้งบนแปหรือใต้แปบริเวณโครงหลังคา ซึ่งเฉพาะตัวมันเองแทบจะไม่มีค่าความสามารถในการต้านทานความร้อน หรือ ค่า R (มีค่า R ประมาณ 0.000001 m2.K/W หรือ 0.0000057 hr.ft2.F/Btu) เนื่องจากไม่มีความหนาเพียงพอจึงทำหน้าที่สะท้อนความร้อนเพียงอย่างเดียว แต่ในการติดตั้งจะต้องเว้นช่องว่างอากาศซึ่งถือว่าเป็นฉนวนกันความร้อนที่มีค่ากันร้อนที่นำมาคำนวณได้ โดยเมื่อยิ่งเว้นช่องว่างอากาศระหว่างแผ่นสะท้อนความร้อนกับวัสดุมุงหลังคามากเท่าใด ก็จะมีค่า R มากขึ้น มีข้อดีคือหาซื้อได้ง่าย ทนต่อแรงดึง ไม่ฉีกขาดง่าย แต่มีข้อควรคำนึงคือควรใช้ฉนวนประเภทอื่นร่วมด้วย เนื่องจากตัวอะลูมิเนียมฟอยล์เองจะช่วยสะท้อนความร้อนแต่ไม่ได้ป้องกันความร้อนที่จะส่งผ่านเข้ามาภายในบ้าน มีราคาประมาณ 80 บาทต่อตารางเมตร

อะลูมิเนียมฟอยล์ หรือแผ่นสะท้อนความร้อน 

การติดตั้งแผ่นสะท้อนความร้อน สามารถติดตั้งได้ทั้งบนแปหรือใต้แปบริเวณโครงหลังคา

 

       2. โพลีเอธิลีนโฟม (Polyethylene Foam-PE)

       เรียกอย่างย่อว่า ฉนวนโฟม PE มีลักษณะเป็นแผ่นโฟมที่มีอะลูมิเนียมฟอยล์ 1 หรือ 2 ด้าน ประกบแต่ละชั้นให้ติดกันด้วยกาว โฟม PE ทำหน้าที่ป้องกันความร้อน ส่วนอะลูมิเนียมฟอยล์ทำหน้าที่สะท้อนความร้อน ฉนวนโฟม PE จึงสามารถป้องกันความร้อนพร้อมกับช่วยสะท้อนความร้อนในตัว ในท้องตลาดมีความหนาให้เลือกเช่น 3, 4, 5 และ 10 มม. ที่นิยมใช้เป็นฉนวนกันความร้อนคือความหนาแบบ 5 มม. ซึ่งความหนาแบบ 5 มม. นี้ ตัวมันเองมีความสามารถในการต้านทานความร้อน หรือค่า R ประมาณ 0.208 m2.K/W (1.181 hr.ft2.F/Btu) การติดตั้งจะติดตั้งแบบวางบนแป ใต้แป ใต้จันทัน (ขึงลวด/ตะแกรงลวด) หรือปูบนฝ้าเพดานก็ได้ มีข้อควรคำนึงคือ ตัวฟอยล์ที่ปิดผิว เมื่อฉีกขาดออกจนเห็นเนื้อ PE ข้างใน หากเกิดประกายไฟไปโดนจะทำให้เกิดการลามไฟได้ เนื่องจากฉนวน PE ทำมาจากพลาสติก Polyethylene Foam (แนะนำให้ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้ผลิตแต่ละราย) ราคาประมาณ 45 บาทต่อตารางเมตร (สำหรับความหนา 5 มม.)

โพลีเอธิลีนโฟม

 

3. แอร์บับเบิ้ล (Air Bubble เรียกอีกอย่างว่า Bubble Foil)

       เป็นฉนวนที่มีลักษณะคล้ายแผ่นพลาสติกกันกระแทกที่มีมวลอากาศอยู่ตรงกลาง หากแต่มีแผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์ประกบทั้ง 2 ด้าน มวลอากาศจะทำหน้าที่ป้องกันความร้อน ส่วนอะลูมิเนียมฟอยล์ทำหน้าที่สะท้อนความร้อน มีความหนาประมาณ 4-4.5 มม. ข้อควรคำนึงคือ ตัวฟอยล์ที่ปิดผิว เมื่อฉีกขาดออกจนเห็นเนื้อข้างใน หากเกิดประกายไฟไปโดนฉนวนด้านในจะทำให้เกิดการลามไฟได้ เนื่องจากฉนวน Bubble Foil ทำมาจากพลาสติกชนิดหนึ่ง (แนะนำให้ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้ผลิตแต่ละราย) สามารถติดตั้งได้หลายตำแหน่ง ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งบริเวณโครงหลังคาแบบวางบนแป ใต้แป ใต้จันทัน (ขึงลวด/ตะแกรงลวด) หรือการปูบนฝ้าเพดาน ตัวมันเองมีความสามารถในการต้านทานความร้อน หรือค่า R (Resistivity) ประมาณ 0.101 m2.K/W (0.573 hr.ft2.F/Btu) มีราคาประมาณ 70 บาทต่อตารางเมตร

แอร์บับเบิ้ล

       4.ใยแก้ว (Fiberglass)

       ฉนวนใยแก้วจะห่อหุ้มด้วยอะลูมิเนียมฟอยล์ โดยใยแก้วทำหน้าที่ป้องกันความร้อนและอะลูมิเนียมฟอยล์ทำหน้าที่สะท้อนความร้อน ฉนวนใยแก้วมีหลายรูปแบบ สำหรับบ้านพักอาศัยจะมีทั้งแบบที่เหมาะกับการติดตั้งบนแปบริเวณโครงหลังคา และแบบปูบนฝ้าเพดานซึ่งสามารถติดตั้งได้ง่าย ไม่ลามไฟ มีข้อควรคำนึงคือ ต้องเตรียมพื้นที่สำหรับการกองเก็บพอสมควร (เป็นม้วนหนากว่าฉนวนแบบแผ่นประเภทอื่น)

       สำหรับฉนวนใยแก้วกันความร้อนของ เอสซีจี จะมีหลายรุ่นให้เลือกใช้ โดยรุ่นที่เหมาะกับบ้านพักอาศัยจะเป็นฉนวนแบบปูบนฝ้าเพดานรุ่น STAY COOL หนา 75 มม. ซึ่งมีค่า R ประมาณ 1.786 m2.K/W (10.139 hr.ft2.F/Btu) ราคาประมาณ 146 บาทต่อตารางเมตร และฉนวนรุ่น STAY COOL หนา 150 มม. ซึ่งมีค่า R ประมาณ 3.571 m2.K/W (20.273 hr.ft2.F/Btu) ราคาประมาณ 188 บาทต่อตารางเมตร ส่วนบ้านที่เลือกใช้กระเบื้องหลังคาของ เอสซีจี บางรุ่น สามารถเลือกใช้ รุ่นอัลตราคูล ที่ติดตั้งบนแปก็ได้เช่นกัน ซึ่งมีค่า R ประมาณ 1.786 m2.K/W(10.139 hr.ft2.F/Btu) มีราคาประมาณ 200 บาทต่อตารางเมตร

ฉนวนกันความร้อนแบบปูบนฝ้าเพดานรุ่น STAY COOL

ฉนวนกันความร้อนสำหรับติดตั้งบนแป บริเวณโครงหลังคา รุ่นอัลตราคูล

ตารางเปรียบเทียบฉนวนกันร้อนแต่ละแบบ

       หลังจากที่ได้รู้จักฉนวนแบบแผ่นแต่ละประเภทแล้ว จะเห็นได้ว่าฉนวนแต่ละประเภทมีคุณสมบัติและราคาแตกต่างกันไป อย่างไรก็ดีอายุการใช้งานของฉนวนแต่ละประเภทอาจไม่แตกต่างกันมากนัก การตัดสินใจเลือกใช้อาจพิจารณาจากความคุ้มค่าเป็นสำคัญ ซึ่งสามาถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากบทความ “Q&A : เลือกฉนวนกันความร้อนอย่างไรให้คุ้มค่า”

       นอกจากการเลือกใช้ฉนวนเพื่อติดตั้งบริเวณโถงหลังคาซึ่งความร้อนจะผ่านเข้ามาทางนี้เป็นส่วนใหญ่แล้ว ยังมีผนังบ้านซึ่งเป็นบริเวณหนึ่งที่ความร้อนจะสามารถผ่านเข้ามาได้เช่นกัน ซึ่งเราอาจเลือกวิธีการติดตั้งฉนวนบริเวณผนัง หรือใช้วิธีลดความร้อนด้วยการทำระแนงแผงบังแดดก็ตาม สิ่งสำคัญอย่าลืมเรื่องการระบายถ่ายเทอากาศภายในบ้านที่ดีด้วย


       ขอขอบคุณแหล่งที่มาจาก
       บริษัท สยามไฟเบอร์กลาส จำกัด

 

ฉนวนกันความร้อน 

รูปสินค้า

ฉนวนกันความร้อน
เอสซีจี 
รุ่น
ขนาด (เมตร)
ความหนา
ความหนาแน่น (กก./ลบ.ม.)
คุณสมบัติ
STAY COOL
1.2x2.40
3 นิ้ว

(75มม.)

12กก.
ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น STAY COOL ผลิตจากใยแก้ว ออกแบบมาสำหรับติดตั้งบริเวณเหนือฝ้าเพดาน ทั้งแบบฉาบเรียบและแบบ ที-บาร์ เพื่อป้องกันความร้อนที่มาทางโถงหลังคา ผ่านฝ้าเพดานลงมาสู่ภายในบ้าน
 
STAY COOL
1.2x2.40
 
6 นิ้ว

(150 มม.)

12กก
ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น STAY COOL ผลิตจากใยแก้ว ออกแบบมาสำหรับติดตั้งบริเวณเหนือฝ้าเพดาน ทั้งแบบฉาบเรียบและแบบ ที-บาร์ เพื่อป้องกันความร้อนที่มาทางโถงหลังคา ผ่านฝ้าเพดานลงมาสู่ภายในบ้าน
 HTIF 1.22X15.25 50 MM. 32 ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี สำหรับงานทนอุณหภูมิสูง เป็นฉนวนใยแก้วที่ไม่ติดไฟ ผสมด้วยกาวชนิดพิเศษที่ทนอุณหภูมิสูงถึง 540 องศาเซลเซียส มีน้ำหนักเบา คงรูป ฝุ่นน้อย ทนแรงกดได้ดี และติดตั้งง่ายมีให้เลือกใช้งานทั้งแบบม้วนและแบบแผ่นตามลักษณะการใช้งาน
 
ROOF BATT
0.95x0.60 ม.
75 มม.
12
ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น ROOF BATT ผลิตจากใยแก้ว ออกแบบมาสำหรับติดตั้งบริเวณหลังคา
 
 HTIFD 1.22X15.25 50 มม. 32 ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี สำหรับงานทนอุณหภูมิสูง เป็นฉนวนใยแก้วที่ไม่ติดไฟ ผสมด้วยกาวชนิดพิเศษที่ทนอุณหภูมิสูงถึง 540 องศาเซลเซียส มีน้ำหนักเบา คงรูป ฝุ่นน้อย ทนแรงกดได้ดี และติดตั้งง่ายมีให้เลือกใช้งานทั้งแบบม้วนและแบบแผ่นตามลักษณะการใช้งาน
 FRK-G 1.22X15.25 50 มม. 24 ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี สำหรับงานหุ้มท่อปรับอากาศ เหมาะสำหรับหุ้มท่อลมปรับอากาศ ช่วยป้องกันการควบแน่นเป็นหยดน้ำ รักษาอุณหภูมิภายในท่อปรับอากาศ และช่วยประหยัดพลังงาน สามารถใช้ในงานหุ้มท่อลมปรับอากาศของอาคาร, สำนักงาน, ศูนย์การค้า และบ้านพักอาศัย ที่อุณหภูมิใช้งานตั้งแต่ 4 องศาเซลเซียส ถึง 120 องศาเซลเซียส
 HTIFD 1.22X15.25 50 มม. 26 ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี สำหรับงานทนอุณหภูมิสูง เป็นฉนวนใยแก้วที่ไม่ติดไฟ ผสมด้วยกาวชนิดพิเศษที่ทนอุณหภูมิสูงถึง 540 องศาเซลเซียส มีน้ำหนักเบา คงรูป ฝุ่นน้อย ทนแรงกดได้ดี และติดตั้งง่ายมีให้เลือกใช้งานทั้งแบบม้วนและแบบแผ่นตามลักษณะการใช้งาน
 HTIFD 1.22X15.25 50 มม. 16 ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี สำหรับงานทนอุณหภูมิสูง เป็นฉนวนใยแก้วที่ไม่ติดไฟ ผสมด้วยกาวชนิดพิเศษที่ทนอุณหภูมิสูงถึง 540 องศาเซลเซียส มีน้ำหนักเบา คงรูป ฝุ่นน้อย ทนแรงกดได้ดี และติดตั้งง่ายมีให้เลือกใช้งานทั้งแบบม้วนและแบบแผ่นตามลักษณะการใช้งาน

 
อลูมิเนียมเทปฟอยล์
 
ขนาดหน้ากว้าง 2.5 นิ้ว
 
    แผ่นอลูมิเนี่ยมเทปฟอยล์เป็นเทปกาวที่ผลิตจากแผ่นโลหะอลูมิเนียม ฟอยล์ เนื้อกาวมีคุณสมบัติพิเศษและทนทานต่ออุณหภูมิที่แตกต่างได้ดี สามารถยึดเกาะกับชิ้นงานและวัสดุปิดผิวได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นวัสดุที่ไม่เสื่อมสภาพจึงคงสภาพการใช้งานได้ยาวนาน
 HTIF 1.22X15.25 50 มม. 16  ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี สำหรับงานทนอุณหภูมิสูง เป็นฉนวนใยแก้วที่ไม่ติดไฟ ผสมด้วยกาวชนิดพิเศษที่ทนอุณหภูมิสูงถึง 540 องศาเซลเซียส มีน้ำหนักเบา คงรูป ฝุ่นน้อย ทนแรงกดได้ดี และติดตั้งง่ายมีให้เลือกใช้งานทั้งแบบม้วนและแบบแผ่นตามลักษณะการใช้งาน
 HTIF 1.22X7.50 75 มม. 32  ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี สำหรับงานทนอุณหภูมิสูง เป็นฉนวนใยแก้วที่ไม่ติดไฟ ผสมด้วยกาวชนิดพิเศษที่ทนอุณหภูมิสูงถึง 540 องศาเซลเซียส มีน้ำหนักเบา คงรูป ฝุ่นน้อย ทนแรงกดได้ดี และติดตั้งง่ายมีให้เลือกใช้งานทั้งแบบม้วนและแบบแผ่นตามลักษณะการ
 HTIFD 1.22X2.44 50 มม. 32  ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี สำหรับงานทนอุณหภูมิสูง เป็นฉนวนใยแก้วที่ไม่ติดไฟ ผสมด้วยกาวชนิดพิเศษที่ทนอุณหภูมิสูงถึง 540 องศาเซลเซียส มีน้ำหนักเบา คงรูป ฝุ่นน้อย ทนแรงกดได้ดี และติดตั้งง่ายมีให้เลือกใช้งานทั้งแบบม้วนและแบบแผ่นตามลักษณะการ
 HTIFD 1.22X2.44 75 มม. 38  ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี สำหรับงานทนอุณหภูมิสูง เป็นฉนวนใยแก้วที่ไม่ติดไฟ ผสมด้วยกาวชนิดพิเศษที่ทนอุณหภูมิสูงถึง 540 องศาเซลเซียส มีน้ำหนักเบา คงรูป ฝุ่นน้อย ทนแรงกดได้ดี และติดตั้งง่ายมีให้เลือกใช้งานทั้งแบบม้วนและแบบแผ่นตามลักษณะการ
 HTIFD 1.22X2.44 50 มม. 48  ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี สำหรับงานทนอุณหภูมิสูง เป็นฉนวนใยแก้วที่ไม่ติดไฟ ผสมด้วยกาวชนิดพิเศษที่ทนอุณหภูมิสูงถึง 540 องศาเซลเซียส มีน้ำหนักเบา คงรูป ฝุ่นน้อย ทนแรงกดได้ดี และติดตั้งง่ายมีให้เลือกใช้งานทั้งแบบม้วนและแบบแผ่นตามลักษณะการ
 HTIFD 1.22X2.44  75 มม. 32  ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี สำหรับงานทนอุณหภูมิสูง เป็นฉนวนใยแก้วที่ไม่ติดไฟ ผสมด้วยกาวชนิดพิเศษที่ทนอุณหภูมิสูงถึง 540 องศาเซลเซียส มีน้ำหนักเบา คงรูป ฝุ่นน้อย ทนแรงกดได้ดี และติดตั้งง่ายมีให้เลือกใช้งานทั้งแบบม้วนและแบบแผ่นตามลักษณะการ
 HTIFD 1.22X2.44  50 มม. 38  ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี สำหรับงานทนอุณหภูมิสูง เป็นฉนวนใยแก้วที่ไม่ติดไฟ ผสมด้วยกาวชนิดพิเศษที่ทนอุณหภูมิสูงถึง 540 องศาเซลเซียส มีน้ำหนักเบา คงรูป ฝุ่นน้อย ทนแรงกดได้ดี และติดตั้งง่ายมีให้เลือกใช้งานทั้งแบบม้วนและแบบแผ่นตามลักษณะการ
   HTIF 1.22X2.44  50 มม. 48  ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี สำหรับงานทนอุณหภูมิสูง เป็นฉนวนใยแก้วที่ไม่ติดไฟ ผสมด้วยกาวชนิดพิเศษที่ทนอุณหภูมิสูงถึง 540 องศาเซลเซียส มีน้ำหนักเบา คงรูป ฝุ่นน้อย ทนแรงกดได้ดี และติดตั้งง่ายมีให้เลือกใช้งานทั้งแบบม้วนและแบบแผ่นตามลักษณะการ
   HTI 1.22X7.50 75 มม. 32  ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี สำหรับงานทนอุณหภูมิสูง เป็นฉนวนใยแก้วที่ไม่ติดไฟ ผสมด้วยกาวชนิดพิเศษที่ทนอุณหภูมิสูงถึง 540 องศาเซลเซียส มีน้ำหนักเบา คงรูป ฝุ่นน้อย ทนแรงกดได้ดี และติดตั้งง่ายมีให้เลือกใช้งานทั้งแบบม้วนและแบบแผ่นตามลักษณะการ
   HTIFD 1.22X7.50 75 มม. 32  ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี สำหรับงานทนอุณหภูมิสูง เป็นฉนวนใยแก้วที่ไม่ติดไฟ ผสมด้วยกาวชนิดพิเศษที่ทนอุณหภูมิสูงถึง 540 องศาเซลเซียส มีน้ำหนักเบา คงรูป ฝุ่นน้อย ทนแรงกดได้ดี และติดตั้งง่ายมีให้เลือกใช้งานทั้งแบบม้วนและแบบแผ่นตามลักษณะการ
   HTI 1.22X2.44 75 มม. 38  ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี สำหรับงานทนอุณหภูมิสูง เป็นฉนวนใยแก้วที่ไม่ติดไฟ ผสมด้วยกาวชนิดพิเศษที่ทนอุณหภูมิสูงถึง 540 องศาเซลเซียส มีน้ำหนักเบา คงรูป ฝุ่นน้อย ทนแรงกดได้ดี และติดตั้งง่ายมีให้เลือกใช้งานทั้งแบบม้วนและแบบแผ่นตามลักษณะการ
   HTI 1.22X15.25 50 มม. 32  ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี สำหรับงานทนอุณหภูมิสูง เป็นฉนวนใยแก้วที่ไม่ติดไฟ ผสมด้วยกาวชนิดพิเศษที่ทนอุณหภูมิสูงถึง 540 องศาเซลเซียส มีน้ำหนักเบา คงรูป ฝุ่นน้อย ทนแรงกดได้ดี และติดตั้งง่ายมีให้เลือกใช้งานทั้งแบบม้วนและแบบแผ่นตามลักษณะการ
 HTI 1.22X15.25 50 มม. 16 ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี สำหรับงานทนอุณหภูมิสูง เป็นฉนวนใยแก้วที่ไม่ติดไฟ ผสมด้วยกาวชนิดพิเศษที่ทนอุณหภูมิสูงถึง 540 องศาเซลเซียส มีน้ำหนักเบา คงรูป ฝุ่นน้อย ทนแรงกดได้ดี และติดตั้งง่ายมีให้เลือกใช้งานทั้งแบบม้วนและแบบแผ่นตามลักษณะการ
 
PCCF
  1 นิ้ว

หุ้มท่อทองแดงติดฟอยล์ขนาดท่อทองแดง 4 1/8

 

ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี สำหรับหุ้มท่อน้ำร้อนน้ำเย็น ผลิตจากฉนวนใยแก้วที่ผ่านการขึ้นรูปให้เป็นท่อนอัดแข็งตามขนาดท่อเหล็ก และท่อทองแดง มีความหนา และเส้นผ่าศูนย์กลางหลายขนาด

 
PCCF
  1.5 นิ้ว  หุ้มท่อทองแดงติดฟอยล์ขนาดท่อทองแดง 4 1/8 ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี สำหรับหุ้มท่อน้ำร้อนน้ำเย็น ผลิตจากฉนวนใยแก้วที่ผ่านการขึ้นรูปให้เป็นท่อนอัดแข็งตามขนาดท่อเหล็ก และท่อทองแดง มีความหนา และเส้นผ่าศูนย์กลางหลายขนาด
 
PCCF
  2 นิ้ว หุ้มท่อทองแดงติดฟอยล์ขนาดท่อทองแดง 4 1/8  ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี สำหรับหุ้มท่อน้ำร้อนน้ำเย็น ผลิตจากฉนวนใยแก้วที่ผ่านการขึ้นรูปให้เป็นท่อนอัดแข็งตามขนาดท่อเหล็ก และท่อทองแดง มีความหนา และเส้นผ่าศูนย์กลางหลายขนาด
 
PCCF
  2.5 นิ้ว หุ้มท่อทองแดงติดฟอยล์ขนาดท่อทองแดง 4 1/8  ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี สำหรับหุ้มท่อน้ำร้อนน้ำเย็น ผลิตจากฉนวนใยแก้วที่ผ่านการขึ้นรูปให้เป็นท่อนอัดแข็งตามขนาดท่อเหล็ก และท่อทองแดง มีความหนา และเส้นผ่าศูนย์กลางหลายขนาด
 
 
Engine by shopup.com